หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
 
 
หน้าหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
 
เทศบาลตำบล พลวงสองนาง ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
 
“ ร่วมใจพัฒนา การศึกษาก้าวไกล
ใส่ใจผู้สูงอายุ ดูแลสิ่งแวดล้อม
เพียบพร้อมคุณธรรม นำพาเศรษฐกิจพอเพียง ”
นายสมเกียรติ แสงอุทัย
นายกเทศมนตรีตำบลพลวงสองนาง
วิสัยทัศน์ ทต.พลวงสองนาง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองกี่ เทศบาลตำบลพลวงสองนาง
ใส่ใจและดูแลผู้สูงอายุอย่างทั่ัวถึง
อ่างเก็บน้ำบ้านหนองชุมเห็ด
โดยเกษตรกรในตำบล
นายบุญปลูก นากก้อน
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
เทศบาลตำบล พลวงสองนาง
www.pluangsongnang.go.th
1
2
3
4
5
 
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลพลวงสองนาง อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี
 
 
วารสาร/จดหมายข่าว
 
 
 
 


 
ระวังป่วย! โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (CHIKUNGUNYA VIRUS DISEASE)  
 

เตือนประชาชนระวังป่วยด้วยโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา
โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการไข้สูง ปวดข้อ ข้อบวมหรือข้ออักเสบร่วมกับการมีอาการปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื้อยกล้ามเนื้อ มีผื่นหรืออ่อนเพลีย
1.อาการของโรค : ปวดข้อหรือข้อบวมแดงอักเสบ เริ่มจากบริเวณข้อมือ ข้อเท้า และข้อต่อเล็กๆ ของแขนขา และมีอาการนานหลายวันหรือหลายเดือน ในผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการปวดข้อ หลังจากนั้น 1 - 10 วัน จะเกิดผื่นบริเวณลำตัวและแขนขา มักไม่คัน หรืออาจมีผื่นขึ้นที่กระพุ้งแก้มและเพดานปาก ผื่นนี้จะหายได้เองภายใน 7 - 10 วัน กลายเป็นขุยละเอียด พบอาการปวดกล้ามเนื้อเมื่อยล้า ไข้ และต่อมนํ้าเหลืองบริเวณคอโตได้บ่อย แต่พบไม่มากที่มีอาการชาหรือเจ็บบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า และอาการปวดข้อ, โรคไขข้อ ปวดกล้ามเนื้อ และ/หรือความเมื่อยล้าเกิดขึ้นในผู้ป่วยร้อยละ 10 - 50
2. ระยะฟักตัวของโรค : ประมาณ 3 - 12 วัน แต่ที่พบบ่อยคือ 2 - 4 วัน
3. การรักษา : ไม่มีการรักษาเฉพาะ ใช้การรักษาตามอาการ โดยเฉพาะอาการปวดข้อ กินยาพาราเซตามอล(Paracetamol) เพื่อลดไข้ (ห้ามกินยาแอสไพริน; Aspirinลดไข้เป็นอันขาด เนื่องจะทำให้เกิดเลือดออกได้ง่ายขึ้น)และเช็ดตัวด้วยนํ้าสะอาดเป็นระยะเพื่อช่วยลดไข้ รวมทั้งให้ผู้ป่วยดื่มนํ้า และนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง
4. การแพร่ติดต่อโรค : เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง มียุงลายเป็นพาหะแพร่เชื้อ ได้แก่ ยุงลายสวน (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti)
5.การป้องกันการแพร่กระจายของโรคที่ดีที่สุด คือ การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยมาตรการ "3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค" คือ เก็บบ้าน เก็บขยะ และเก็บน้ำ เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย และการป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัดด้วยการทายากันยุงและกำจัดยุงในบ้าน

 

ข่าว ณ. วันที่ 10 ก.ค. 2563 เวลา 16.29 น. โดย คุณ บุศรา จันทรังษ์

ผู้เข้าชม 209 ท่าน

 
 
 
 
 
รับเรื่องราวร้องเรียน
โทร : 093-139-2929
 
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10